แชร์

ความดันโลหิตสูง ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

อัพเดทล่าสุด: 13 พ.ค. 2025
135 ผู้เข้าชม

ความดันโลหิตสูง ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม 

ในปี 2566 ที่ผ่านมา โรคความดันโลหิตสูงครองอันดับ 1 ในบรรดาโรคที่คนไทยใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับการรักษามากที่สุด และจากการสำรวจพบว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความชุกของโรคนี้สูงถึง 25.4% โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุ 
แม้หลายคนจะใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่อันตรายของโรคนี้คือ แทบไม่มีอาการบ่งชี้ ในระยะเริ่มต้น จึงได้รับฉายาว่า ภัยเงียบ หรือ ฆาตกรเงียบ ที่ค่อย ๆ ทำลายสุขภาพอย่างช้า ๆ 
 
ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง 

  • อายุ: ยิ่งมาก ความดันยิ่งสูง
  • พันธุกรรม: มีประวัติคนในครอบครัว 
  • สูบบุหรี่: เพิ่มแรงดันเลือด ทำลายหลอดเลือด
  • ดื่มแอลกอฮอล์: โดยเฉพาะการดื่มหนักเป็นประจำ
  • กินเค็ม: โดยเฉพาะโซเดียมจากอาหารแปรรูปหรือปรุงรสจัด
นอกจากนี้ยังรวมถึง ความเครียด โรคอ้วน เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 


ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง 

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เส้นเลือดในสมองแตก/ตีบ
  • โรคไตวาย
  • สมองเสื่อม
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว 


แนวทางดูแลและป้องกัน 

1.)การรักษาด้วยยา: ใช้เมื่อค่าความดันสูงต่อเนื่อง หรือเข้าสู่ระยะ 2/วิกฤต เช่น ยาขับปัสสาวะ, ACE inhibitors, ยาต้านแคลเซียม ฯลฯ 

2.)การปรับพฤติกรรม:

  • ลดเกลือ/โซเดียม 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 
  • งดบุหรี่และแอลกอฮอล์ 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • จัดการความเครียด 
  • ควบคุมน้ำหนัก
ความดันโลหิตสูงไม่แสดงอาการ แต่ส่งผลได้รุนแรง ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งดูแลได้ทัน เริ่มต้นจากการวัดค่าความดันเป็นประจำ และปรับวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดีระยะยาว

บทความที่เกี่ยวข้อง
เป็นเก๊าต์... ทำไงดี?
เก๊าต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่หลายคนคุ้นชื่อดี แต่รู้หรือไม่ว่า… มันอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย! โดยเฉพาะใครที่เคยรู้สึก ปวด บวม แดง แสบร้อนตรงข้อนิ้วเท้า เจ็บจนนอนไม่หลับตอนกลางคืน ระวังไว้เลย... อาจเป็น “เก๊าต์” แบบไม่รู้ตัว
7 พ.ค. 2025
โพรไบโอติก พรีไบโอติก และซินไบโอติก คืออะไร?
โพรไบโอติก (Probiotics) โพรไบโอติกคือจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า "แบคทีเรียดี" ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของเรา เมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยเสริมสร้างสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้และส่งผลดีต่อสุขภาพ
23 เม.ย. 2025
เลี้ยงโคอย่างไร? เมื่อโลกร้อนขึ้น
ภาวะโลกร้อน หรือความร้อนที่มาจากสิ่งแวดล้อม ทำให้โคมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น และเกิดความเครียดเนื่องจากความร้อน (Heat Stress)
6 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy