แชร์

ความดันโลหิตสูง ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

อัพเดทล่าสุด: 13 พ.ค. 2025
463 ผู้เข้าชม

ความดันโลหิตสูง ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม 

ในปี 2566 ที่ผ่านมา โรคความดันโลหิตสูงครองอันดับ 1 ในบรรดาโรคที่คนไทยใช้สิทธิบัตรทองเข้ารับการรักษามากที่สุด และจากการสำรวจพบว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความชุกของโรคนี้สูงถึง 25.4% โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุ 
แม้หลายคนจะใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่อันตรายของโรคนี้คือ แทบไม่มีอาการบ่งชี้ ในระยะเริ่มต้น จึงได้รับฉายาว่า ภัยเงียบ หรือ ฆาตกรเงียบ ที่ค่อย ๆ ทำลายสุขภาพอย่างช้า ๆ 
 
ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง 

  • อายุ: ยิ่งมาก ความดันยิ่งสูง
  • พันธุกรรม: มีประวัติคนในครอบครัว 
  • สูบบุหรี่: เพิ่มแรงดันเลือด ทำลายหลอดเลือด
  • ดื่มแอลกอฮอล์: โดยเฉพาะการดื่มหนักเป็นประจำ
  • กินเค็ม: โดยเฉพาะโซเดียมจากอาหารแปรรูปหรือปรุงรสจัด
นอกจากนี้ยังรวมถึง ความเครียด โรคอ้วน เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ 


ภาวะแทรกซ้อนจากความดันโลหิตสูง 

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เส้นเลือดในสมองแตก/ตีบ
  • โรคไตวาย
  • สมองเสื่อม
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว 


แนวทางดูแลและป้องกัน 

1.)การรักษาด้วยยา: ใช้เมื่อค่าความดันสูงต่อเนื่อง หรือเข้าสู่ระยะ 2/วิกฤต เช่น ยาขับปัสสาวะ, ACE inhibitors, ยาต้านแคลเซียม ฯลฯ 

2.)การปรับพฤติกรรม:

  • ลดเกลือ/โซเดียม 
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 
  • งดบุหรี่และแอลกอฮอล์ 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ 
  • จัดการความเครียด 
  • ควบคุมน้ำหนัก
ความดันโลหิตสูงไม่แสดงอาการ แต่ส่งผลได้รุนแรง ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งดูแลได้ทัน เริ่มต้นจากการวัดค่าความดันเป็นประจำ และปรับวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดีระยะยาว

บทความที่เกี่ยวข้อง
อากาศร้อนจัด เสี่ยง ฮีทสโตรก 
ในช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะ ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด กลายเป็นภัยสุขภาพที่หลายคนอาจมองข้าม แต่ความจริงแล้วอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
11 มิ.ย. 2025
ไวรัสไข้หวัดใหญ่
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดหลัก  ชนิด A รุนแรงที่สุด แพร่เร็วที่สุด เช่น H1N1, H3N2  ชนิด B ก่อโรคในคน รุนแรงปานกลาง  ชนิด C พบน้อย อาการไม่รุนแรง
17 มิ.ย. 2025
บทบาทของยีสต์ต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของสัตว์กระเพาะรวม
ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ยีสต์ถือเป็นวัตถุดิบที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในสัตว์กระเพาะรวมอย่างโคนมและโคเนื้อ เกษตรกรมักนำยีสต์ไปใช้ในรูปแบบหมักร่วมกับวัตถุดิบ เช่น มันสำปะหลังหมักยีสต์ ข้าวโพดหมักยีสต์ หรือของเหลือใช้จากอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อปรับปรุงคุณภาพอาหารสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการย่อย และเสริมสุขภาพโดยรวมของสัตว์
3 มิ.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy