แชร์

เป็นเก๊าต์... ทำไงดี?

อัพเดทล่าสุด: 7 พ.ค. 2025
88 ผู้เข้าชม

เป็นเก๊าต์... ทำไงดี?  


เก๊าต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่หลายคนคุ้นชื่อดี แต่รู้หรือไม่ว่า มันอาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย!  
โดยเฉพาะใครที่เคยรู้สึก ปวด บวม แดง แสบร้อนตรงข้อนิ้วเท้า เจ็บจนนอนไม่หลับตอนกลางคืน ระวังไว้เลย... อาจเป็น เก๊าต์ แบบไม่รู้ตัว 


เกิดจากอะไร?  


ปัจจัยหลักของโรคเก๊าต์ คือการสะสมของกรดยูริกในเลือด  
กรดยูริกเกิดจากการย่อยสาร พิวรีน  
ซึ่งพบได้มากในอาหารเหล่านี้:  

  • สัตว์ปีก, เครื่องใน, เนื้อแดง
  • ผักกินยอด เช่น กระถิน ชะอม
  • อาหารทะเล เช่น ปลาซาร์ดีน หอยแมลงภู่ หอยเซลล์
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเบียร์
  • น้ำหวานและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง 
โดยปกติร่างกายจะขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ แต่ถ้าระบบขับถ่ายทำงานผิดปกติหรือขับออกได้น้อย  
จะเกิดการสะสมในร่างกายและสะสมที่ข้อ นำไปสู่อาการปวด บวม แสบ แดง  
เกณฑ์ค่ากรดยูริกมาตรฐานในเลือดคือ  
ผู้ชาย: ไม่ควรเกิน 8 mg/dL  
ผู้หญิง: ไม่ควรเกิน 6 mg/dL  
โรคนี้ยังสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้  
  
วิธีดูแลและรักษา  


การใช้ยา  
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก:  
ยาลดการอักเสบและบรรเทาอาการ  
ยาควบคุมระดับกรดยูริก ป้องกันภาวะแทรกซ้อน  
การปรับพฤติกรรมและวิถีชีวิต  
ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยขับกรดยูริก  
หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และน้ำหวาน  
งดอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก ผักกินยอด เนื้อแดง และอาหารทะเล  
พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด  
  
ใส่ใจเรื่องอาหาร = ห่างไกลอาการเก๊าต์  
รักตัวเอง เริ่มต้นง่าย ๆ ที่การเลือกกินนะครับ


บทความที่เกี่ยวข้อง
โพรไบโอติก พรีไบโอติก และซินไบโอติก คืออะไร?
โพรไบโอติก (Probiotics) โพรไบโอติกคือจุลินทรีย์ที่มีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพ หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า "แบคทีเรียดี" ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของเรา เมื่อรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยเสริมสร้างสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้และส่งผลดีต่อสุขภาพ
23 เม.ย. 2025
เลี้ยงโคอย่างไร? เมื่อโลกร้อนขึ้น
ภาวะโลกร้อน หรือความร้อนที่มาจากสิ่งแวดล้อม ทำให้โคมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น และเกิดความเครียดเนื่องจากความร้อน (Heat Stress)
6 ธ.ค. 2024
โพรไบโอติกเกี่ยวอย่างไรกับโรคซึมเศร้า
ในปัจจุบันโรคทางจิตเวชอยู่ใกล้ตัวเรามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคซึมเศร้า จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่า ในเด็กอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากสมองมีการทำงานผิดปติของของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ที่มีปริมาณลดต่ำลง ทำให้การส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทเกิดความผิดปกติ และอาจมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดและมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ สามารถแบ่งโรคซึมเศร้าเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม 1.โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว 2.โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไป
9 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy