แชร์

ธนาคารจุลินทรีย์ (Microbe Bank)

อัพเดทล่าสุด: 6 ก.พ. 2025
638 ผู้เข้าชม
งานวิจัยและการเก็บตัวอย่างจุลินทรีย์ 

           ดร.วิเชียร ยงมานิต ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์ กล่าวว่า ธนาคารจุลินทรีย์ของบริษัท SAS ได้รวบรวมจุลินทรีย์ไว้ 2 กลุ่มหลัก ได้แก่บาซิลลัสและแล็กโตบาซิลลัสซึ่งนำไปใช้ในการผลิตจุลินทรีย์โพรไบโอติกสำหรับสัตว์เศรษฐกิจเช่น หมู ไก่ และกุ้ง กระบวนการเหล่านี้ต้องเป็นไปตามกฎหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ระบุชนิดจุลินทรีย์ที่สามารถใช้เป็นโพรไบโอติกได้อย่างชัดเจน 

           ในการหาจุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ ทีมงานของดร.วิเชียร ได้เดินทางเก็บตัวอย่างจากแหล่งธรรมชาติในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านเช่น พื้นที่ภาคเหนือของไทยและเขตรอยต่อของพม่า โดยมุ่งเน้นจุลินทรีย์ที่พบในอาหารหมักดองแบบดั้งเดิม เช่น ถั่วเน่า จากนั้นจึงคัดแยกและวิเคราะห์ดีเอ็นเอเพื่อระบุสายพันธุ์อย่างแม่นยำข้อมูลที่ได้จะถูกเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลระดับโลกเพื่อยืนยันชื่อและความเป็นเอกลักษณ์ของจุลินทรีย์นั้น ๆ 

 
ประโยชน์ของจุลินทรีย์ประจำถิ่น

          จุลินทรีย์ประจำถิ่นของไทยมีข้อดีที่โดดเด่นเพราะสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม มนุษย์ และสัตว์ ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดีเนื่องจากจุลินทรีย์ที่เกิดและเติบโตในพื้นที่เฉพาะจะเหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตในประเทศนั้นๆมากกว่า ดังนั้นจุลินทรีย์ของไทยจึงเหมาะสมกับคนและสัตว์ในประเทศไทยเช่นเดียวกับคนเกาหลีก็เหมือนสมกับจุลินทรีย์ในอาหารเกาหลีเหมือนกันธนาคารจุลินทรีย์ยังมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อรักษาความหลากหลายทางชีวภาพและอนุรักษ์จุลินทรีย์ในระยะยาวรวมถึงการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ในหลายด้าน เช่น 
  • การพัฒนายารักษาโรค 
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารสำหรับสัตว์ 
  • เทคโนโลยีชีวภาพที่ช่วยดูแลสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการเกษตร 
การสร้างอนาคตด้วยธนาคารจุลินทรีย์

          ธนาคารจุลินทรีย์ไม่เพียงช่วยเก็บรักษาทรัพยากรชีวภาพแต่ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาวทั้งในด้านการสร้างงานการเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมต่างๆและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญด้วยความหลากหลายของจุลินทรีย์ในประเทศไทยธนาคารจุลินทรีย์จึงเป็นกุญแจสำคัญในการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก 

โดย : ดร.ไกลกว่า วุฒิเสน Product Specialists บริษัทสยาม อะกริ ชัพพลาย จำกัด

บทความที่เกี่ยวข้อง
เลี้ยงโคอย่างไร? เมื่อโลกร้อนขึ้น
ภาวะโลกร้อน หรือความร้อนที่มาจากสิ่งแวดล้อม ทำให้โคมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น และเกิดความเครียดเนื่องจากความร้อน (Heat Stress)
19 มี.ค. 2025
โพรไบโอติกเกี่ยวอย่างไรกับโรคซึมเศร้า
ในปัจจุบันโรคทางจิตเวชอยู่ใกล้ตัวเรามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคซึมเศร้า จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่า ในเด็กอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากสมองมีการทำงานผิดปติของของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ที่มีปริมาณลดต่ำลง ทำให้การส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทเกิดความผิดปกติ และอาจมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดและมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ สามารถแบ่งโรคซึมเศร้าเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม 1.โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว 2.โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไป
19 มี.ค. 2025
สมดุลจุลินทรีย์สร้างสุขภาพที่ดีของโค
โคเป็นสัตว์ใหญ่ที่มีระบบการย่อยอาหารที่ซับซ้อน เนื่องจากมีกระเพาะถึง 4 กระเพาะ ได้แก่ รูเมนหรือกระเพาะผ้าขี้ริ้ว (rumen), เรติคิวลัมหรือกระเพาะรังผึ้ง (reticulum), โอมาซัมหรือกระเพาะสามสิบกลีบ (omasum) และกระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (abomasum) แต่ละกระเพาะจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ในทุกกระเพาะจะมีจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่ต่างกันอีกด้วย
19 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy