แชร์

ประจำเดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง ปัญหาของผู้หญิงหลายคน

อัพเดทล่าสุด: 9 ธ.ค. 2024
381 ผู้เข้าชม

ประจำเดือนคืออะไร

            ประจำเดือนคือ เลือดหรือเยื่อบุโพรงมดลูกที่ไม่ได้รับการปฎิสนธิระหว่างไข่กับอสุจิ  ในช่วงแรกของรอบเดือนฮอร์โมนเอสโทรเจน (Estrogen) จะกระตุ้นเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญตัวหนาขึ้น จากนั้นรังไข่จะมีการตกไข่จากรังไข่ข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อไข่เกิดการปฎิสนธิกับอสุจิจนเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนจะเคลื่อนตัวมายังมดลูกเพื่อฝังตัว โดยมีฮอร์โมนโปรเจสเตโรน (Progesterone) ซึ่งจะควบคุมการตกไข่ การกระตุ้นให้มีการสร้างผนังมดลูกให้หนาขึ้น หากเดือนใดที่ไข่ไม่ได้รับการปฎิสนธิจากอสุจิ ระดับของฮอร์โมนโปรเจสเตโรนจะลดลงเป็นผลทำให้มีการหลุดลอกของผนังมดลูกจนกลายเป็นประจำเดือน

ประจำเดือนปกติควรเป็นอย่างไร

o  ประจำเดือนปกติจะมีทุกๆ 28 - 30 วัน

o  โดยเฉลี่ยประจำเดือนจะมา 5 - 7 วัน

o  ปริมาณต่อวันไม่ควรเกิน 80 ซีซี

 

ประจำเดือนมาไม่ปกติคืออย่างไร

o  ประจำเดือนมากกว่ากว่าปกติ หรือ มากกว่า 80 ซีซีต่อวัน

o  ประจำเดือนมายาวนาน หรือ มากกว่า 7 วัน

o  ประจำเดือนไม่มาตามรอบ

o  ประจำเดือนมีลิ้มเลือดปน

o   มีเลือดออกกะปริบกะปรอยนอกรอบเดือน

o  เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์


ประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดจากสาเหตุใด

o  ประจำเดือนไม่มาตามธรรมชาติ เช่น การตั้งครรภ์ การให้นมบุตร

o  ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล โดยฮอร์โมนในการคุมการตกไข่ได้แก่ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน ซึ่งควบคุมด้วยต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เมื่อเกิดความไม่สมดุลของฮอร์โมนทำให้การตกไข่ไม่สม่ำเสมออาจทำให้ประจำเดือนมานานกว่าปกติ

o  โรคประจำตัว โรคบางอย่างมีผลต่อการทำงานของฮอร์โมนส่งผลให้ฮอร์โมนเกิดความไม่สมดุล โดยโรคที่พบเป็นส่วนใหญ่ เช่น เครียด โรคอ้วน เบาหวาน โรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ

o  การใช้ยา โดยยาบางชนิดมีผลดับฮอร์โมนในร่างกาย เมื่อมีการรับประทานยาอย่างต่อเนื่องจะส่งผลให้ฮอร์โมนเกิดความไม่สมดุล เช่น ยาปรับฮอร์โมน ยาต้านเศร้า ยาสำหรับอาการทางจิต ยาความดัน ยาคุมกำเนิด เป็นต้น

o  พฤติกรรมและการดำเนินชีวิต พฤติกรรมต่างๆ มีผลกับความสมดุลของฮอร์โมน เช่น การเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การนอนหลับ ความเครียด

ทำอย่างไรจึงจะทำให้ประจำเดือนมาปกติ

o  รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาหารที่มีประโชย์ต่อร่างกาย ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง

o  การนอนหลับหรือพักผ่อนอย่างเพียงพอ ส่งผลให้ฮอร์โมนทำงานได้อย่างปกติและสมดุล

o  การจัดการกับความเครียด หากมีความเครียดสูงร่างกายจะมีการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ซึ่งจะไปรบกวนการทำงานสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ทำให้ต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนเกิดความไม่สมดุล เป็นผลให้ ประจำเดือนขาด มาช้า หรือมาน้อยกว่าปกติ

o  การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร  เช่น วิตามิน สมุนไพร สารสกัดจากธรรมชาติ  และผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากโพรไบโอติก  biocraft  Plus Sea buckthorn ประกอบด้วยโพรไบโอติกที่ช่วยในการปรับสมดุลของฮอร์โมนให้อยู่ในสภาวะสมดุล ลดสารอนุมูลอิสระที่มาจากความเครียด ลดระดับน้ำตาลและไขมันในกระแสเลือด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนและเบาหวาน ช่วยลดการอักเสบของเซลล์ นอกจากนี้ยังมีสารสกัดจาก ซีบัคธอร์น  อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ช่วยปรับฮอร์โมนเอสโทเจนให้สมดุล ป้องกันความดันโลหิตสูง ลดการแข็งตัวของเลือด ลดไขมันในเลือด และต้านอนุมูลอิสระ


บทความที่เกี่ยวข้อง
เลี้ยงโคอย่างไร? เมื่อโลกร้อนขึ้น
ภาวะโลกร้อน หรือความร้อนที่มาจากสิ่งแวดล้อม ทำให้โคมีอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น และเกิดความเครียดเนื่องจากความร้อน (Heat Stress)
19 มี.ค. 2025
โพรไบโอติกเกี่ยวอย่างไรกับโรคซึมเศร้า
ในปัจจุบันโรคทางจิตเวชอยู่ใกล้ตัวเรามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคซึมเศร้า จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่า ในเด็กอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากสมองมีการทำงานผิดปติของของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ที่มีปริมาณลดต่ำลง ทำให้การส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทเกิดความผิดปกติ และอาจมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดและมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ สามารถแบ่งโรคซึมเศร้าเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม 1.โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว 2.โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไป
19 มี.ค. 2025
สมดุลจุลินทรีย์สร้างสุขภาพที่ดีของโค
โคเป็นสัตว์ใหญ่ที่มีระบบการย่อยอาหารที่ซับซ้อน เนื่องจากมีกระเพาะถึง 4 กระเพาะ ได้แก่ รูเมนหรือกระเพาะผ้าขี้ริ้ว (rumen), เรติคิวลัมหรือกระเพาะรังผึ้ง (reticulum), โอมาซัมหรือกระเพาะสามสิบกลีบ (omasum) และกระเพาะจริงหรืออะโบมาซัม (abomasum) แต่ละกระเพาะจะมีหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ในทุกกระเพาะจะมีจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่ต่างกันอีกด้วย
19 มี.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy