แชร์

การเสริม Probiotic ต่อการสนับสนุนจุลินทรีย์ตัวดีในร่างกายสัตว์

อัพเดทล่าสุด: 7 ธ.ค. 2024
356 ผู้เข้าชม

โปรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์นิยมนำมาใช้เสริมอาหารสัตว์ หรือผสมน้ำดื่มให้สัตว์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะในรูปแบบ AGP (Engberg et al., 2000). โดยยาปฏิชีวนะมีหน้าที่ควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในร่างกายไม่ให้มีการเพิ่มจำนวนจนสัตว์เกิดอาการป่วย มีส่วนช่วยในการปรับสมดุลจุลินทรีย์ภายในทางเดินอาหารของสัตว์ โปรไบโอติกมีหลากหลายสายพันธุ์ และตัวที่นิยมใช้ในวงการปศุสัตว์อย่างแพร่หลาย เช่น Lactobaciilus spp. และ Bacillus spp. และในอุตสาหกรรมการผลิตไก่เนื้อโปรไบโอติกที่มักจะเห็นในหลายๆ ผลิตภัณฑ์ก็คือ Bacillus subtilis นั่นเอง บทความฉบับนี้ SAS ได้รวบรวมงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่างๆ เพื่อนำเสนอข้อดีของการเสริม Bacillus subtilis ในแง่ของการเพิ่มจุลินทรีย์ตัวดี Lactobaciilus spp.ในทางเดินอาหารของไก่เนื้อ

Gao et al. (2017) ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเสริมโปรไบโอติก B. subtilis (BS) ในอาหารทดลองในไก่เนื้อพันธุ์ Arbor Acres เป็นเวลา 42 วัน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองทั้งหมด 5 กลุ่มทดลอง กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มควบคุม (Control group) ให้อาหารพื้นฐาน กลุ่มที่ 2 ถึงกลุ่มที่ 5 ทำการเสริม B. subtilis ระดับที่แตกต่างกันในอาหารไก่เนื้อ 100, 150, 200 และ 250 mg/kg. โดยผลการทดลองพบว่าความหนาแน่นของประชากรจุลินทรีย์ที่ดี Lactobacillus spp. ของกลุ่มที่มีการเสริม B. subtilis ทุกระดับมีความหนาแน่นจุลินทรีย์ที่มากกว่ากลุ่มควบคุม ซึ่งมีความแตกต่างกันทางถิติ (P < 0.05) (ตารางที่ 1) โดยให้เหตุผลว่า Lactobacillus spp. ที่หนาแน่นกว่านั้นมากจากบาซิลลัส ซับทีลิส สามารถรักษาสมดุลของสภาพแวดล้อมในลำไส้เล็ก โดยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์กลุ่มที่ไม่ใช้อากาศ

ผลการทดลองสอดคล้องกับ Rivera-Pérez, Barquero-Calvo, and Chaves (2021) ที่ทำการทดลองในไก่เนื้อพันธุ์ Cobb ทดลองเป็นเวลา 35 วัน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองทั้งหมด 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 คือ กลุ่มควบคุมใช้อาหารสูตรพื้นฐาน (CO), กลุ่มที่ 2 คือ อาหารสูตรพื้นฐาน + ปฏิชีวนะ 500 กรัมต่อตันอาหาร (AGP) และกลุ่มที่ 3 คือ อาหารสูตรพื้นฐาน + B. subtilis 100 กรัมต่อตันอาหาร (PB) อัตราการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของ Lactobacillus spp. ในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ถึง 5 พบว่ากลุ่ม PB มีความหนาแน่นที่มากกว่ากลุ่ม CO และกลุ่ม AGP โดยแตกต่างกันทางสถิติ (P < 0.05) (ภาพที่ 2) อธิบายการเพิ่มขึ้นของ Lactobacillus spp. ว่ามาจาก B. subtilis เป็นจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจนในการเจริญเติบโต ทำให้ทางเดินอาหารมีออกซิเจนน้อยลง และเป็นสภาวะที่เหมาะสมต่อการแบ่งตัวของ Lactobacillus spp. และ Li et al. (2019) ได้อธิบายเพิ่มเติมถึงการเพิ่มขึ้นของ Lactobacillus spp. ไว้ว่า B. subtilis สนับสนุนการเจริญเติบโตของ Lactobacillus spp. โดยผ่านการสร้าง catalase และ subtilisin ออกมา

ภาพที่ 2 แสดงอิทธิพลของการเสริม B. subtilis ต่ออัตราการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของประชากรจุลินทรีย์ Lactobacillus spp. ในมูลไก่เนื้อ, ตัวอักษรที่ต่างกันแสดงความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05)

ที่มา: Rivera-Pérez, Barquero-Calvo, and Chaves (2021) 

จากการทดลองข้างต้นเป็นตัวยืนยันได้ว่าการเสริมผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกที่มีส่วนประกอบของ    B. subtilis ในการเลี้ยงไก่เนื้อ สามารถสนับสนุนการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ตัวดี เช่น Lactobacillus spp. ได้จริง โดยสรุปกลไกการทำงานเมื่อ Lactobacillus spp. เพิ่มจำนวนขึ้นจากการสนับสนุนของ B. subtilis จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และผลิตกรดแลคติกออกมาส่งผลทำให้สภาพแวดล้อมความเป็นกรด-ด่าง บริเวณลำไส้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค และ B. subtilis เองก็สามารถสร้างสารออกฤทธิ์คล้ายงานยาฏิชีวนะ เช่น แบคเทอริโอซิน และอื่นๆ ออกมาทำลายเซลล์ของเชื้อจุลินทรีย์ก่อโรคได้อีกด้วย

SAS คัดเลือกและทดสอบความสามารถของจุลินทรีย์กลุ่ม Bacillus spp. มากกว่า 300 สายพันธุ์ เพื่อให้ได้มาซึ่ง Bacillus spp ที่มีความสามารถในการเจริญเติบโตรวดเร็ว สร้างเอนไซม์ได้ในปริมาณสูงเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร และมีฤทธิ์ควบคุมเชื้อก่อโรคได้ดีที่สุด จนกลายมาเป็นผลิตภัณฑ์ Biotic Max Plus 1 ที่ประกอบไปด้วยโปรไบโอติกบาซิลลัสทั้งหมด 3 สายพันธุ์ที่มีความสามารถสูง ใช้ผสมน้ำสะอาดให้ไก่กิน ผลิตภัณฑ์มีส่วนช่วยในการส่งเสริมสุขภาพทางเดินอาหาร คุมเชื้อก่อโรคในทางเดินอาหาร และการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น


บทความที่เกี่ยวข้อง
โพรไบโอติกเกี่ยวอย่างไรกับโรคซึมเศร้า
ในปัจจุบันโรคทางจิตเวชอยู่ใกล้ตัวเรามาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคซึมเศร้า จากข้อมูลของกรมสุขภาพจิตพบว่า ในเด็กอายุ 15 ปีขึ้นไป ป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากสมองมีการทำงานผิดปติของของสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ได้แก่ ซีโรโทนิน (serotonin) และนอร์เอพิเนฟริน (norepinephrine) ที่มีปริมาณลดต่ำลง ทำให้การส่งสัญญาณของเซลล์ประสาทเกิดความผิดปกติ และอาจมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ความคิดและมุมมองต่อสิ่งต่าง ๆ สามารถแบ่งโรคซึมเศร้าเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม 1.โรคซึมเศร้าแบบขั้วเดียว คือ ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าอย่างเดียว 2.โรคซึมเศร้าแบบสองขั้ว หรือที่เรียกว่าไบโพลาร์ ผู้ป่วยมีอาการอารมณ์ขึ้นลงมากกว่าคนทั่วไป
9 ธ.ค. 2024
BOD COD คือค่าอะไร สำคัญอย่างไรกับน้ำเสีย
ค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญของน้ำเสียพารามิเตอร์หรือตัวชี้วัดของการจำแนกน้ำ คือ ค่าคงตัว ตัวเลข ที่กำหนดค่ามาตราฐานของน้ำเพื่อจำแนกประเภทน้ำ การจัดการและการบำบัดของน้ำได้ ซึ่งค่าพารามิเตอร์ในการจำแนกน้ำ
9 ธ.ค. 2024
ประจำเดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง ปัญหาของผู้หญิงหลายคน
ในทุกๆ เดือน ผู้หญิงหลายคนต้องพบปัญหากับประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา อาจจะช้าบ้าง เร็วบ้าง หรือบางคนหายไปหลายเดือน หรือนี้คือสัญญาณที่ร่างกายกำลังสื่อสารถึงการมาของโรคต่างในผู้หญิงหรือไม่
9 ธ.ค. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy