แชร์

แอนแทรกซ์

อัพเดทล่าสุด: 3 ก.ค. 2025
48 ผู้เข้าชม

แอนแทรกซ์: โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่รุนแรงกว่าที่คิด 


หลายคนอาจไม่คุ้นชื่อ แอนแทรกซ์ เท่าไรนัก เพราะไม่ใช่โรคที่เกิดขึ้นบ่อย แต่เมื่อเกิดขึ้นที ก็เป็นเรื่องใหญ่ครับ ล่าสุด เมื่อวันที่ 30 เมษายนที่ผ่านมา ที่อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 รายจากโรคนี้ 
เบื้องต้นคาดว่า ผู้เสียชีวิตติดเชื้อจากการชำแหละโคและนำเนื้อไปแจกจ่ายให้ชาวบ้านทั้งหมู่บ้านครับ ซึ่งตอนนี้พบผู้ป่วยเพิ่มอีก 2 ราย และยังมีกลุ่มเสี่ยงเฝ้าระวังอีกกว่า 600 คนเลยทีเดียว 


 แอนแทรกซ์คืออะไร? 
โรคแอนแทรกซ์ หรือที่ในบางพื้นที่เรียกกันว่า โรคกาลี เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อ Bacillus anthracis เชื้อนี้สามารถพบได้ตามธรรมชาติใน ดิน น้ำ หรือพืช และมีความสามารถพิเศษคือ ทน ต่อสภาพแวดล้อมแบบสุด ๆ ทั้งร้อนจัดหรือเย็นจัดก็เอาอยู่ และยังสามารถคงสภาพอยู่ในรูปของ สปอร์ ได้นานมาก 
 
 ติดต่อกันได้ยังไง? 
เชื้อแอนแทรกซ์สามารถติดจากสัตว์สู่คนได้ โดยเฉพาะสัตว์กินหญ้าพวก โค กระบือ แพะ แกะ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อสู่คนได้ผ่าน 3 ทางหลัก ๆ : 
ทางผิวหนัง จากการสัมผัสสัตว์หรือซากสัตว์ที่ติดเชื้อ 
ทางการหายใจ จากการสูดสปอร์ของเชื้อเข้าไป 
ทางการกิน โดยเฉพาะการกินเนื้อสัตว์ที่ไม่สุกหรือปรุงไม่สะอาด 
ที่น่ากลัวคือ สปอร์ของเชื้อ นี้สามารถทนความร้อนได้ถึง 140°C ได้นานถึง 3 ชั่วโมงเลยนะครับ เพราะฉะนั้นการปรุงอาหารแบบกึ่งสุกกึ่งดิบ อาจไม่เพียงพอในการทำลายเชื้อพวกนี้ได้ 
 
 อาการของโรค ขึ้นอยู่กับวิธีที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย 
- ติดจากการหายใจเข้าไป (สูดสปอร์) 
จะมีอาการไข้ หนาวสั่น แน่นหน้าอก ไอ หายใจลำบาก ปวดหัว คลื่นไส้ เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย และมึนงง 
- ติดจากการสัมผัสผิวหนัง 
มักเริ่มจากตุ่มแดงคัน แล้วกลายเป็นตุ่มหนอง แผลบวม มีรอยดำตรงกลาง มักเกิดที่หน้า คอ หรือแขน 
- ติดจากการกิน 
จะมีไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ คอบวม ต่อมน้ำเหลืองโต คลื่นไส้ อาเจียน บางรายอาเจียนเป็นเลือด หรือมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง ปวดท้อง ท้องบวม และอาจหมดสติได้ 

 การรักษาทำอย่างไร? 
- แอนแทรกซ์สามารถรักษาได้ ถ้าได้รับการวินิจฉัยและรักษาทันเวลา 
โดยแพทย์จะใช้ ยาปฏิชีวนะ เช่น เพนนิซิลลิน, ด็อกซีไซคลิน, หรือกลุ่ม ควิโนโลน 
- บางกรณีที่อาการรุนแรง แพทย์อาจเสริมด้วย ยาต้านพิษ อย่าง คลินดาไมซิน หรือ ลิเนโซลิด 
-การรักษาจะต้องมีการติดตามใกล้ชิด เพราะบางเคสอาการอาจเปลี่ยนแปลงเร็ว 
 
 แล้วเราจะป้องกันได้อย่างไร? 
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย หรือสัตว์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา 
- อย่าดื่มนมหรือกินเนื้อสัตว์ที่ไม่ได้ผ่านการปรุงสุกหรือฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธี 
- หากต้องจัดการกับซากสัตว์ ให้ใช้ถุงมือและอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้ง 
- หากมีอาการผิดปกติหลังสัมผัสสัตว์ หรือกินเนื้อสัตว์แปลก ๆ ควรรีบพบแพทย์ทันที 

 

ถึงแม้ว่า แอนแทรกซ์ อาจดูเหมือนโรคที่อยู่ไกลตัว แต่ในความเป็นจริง หากเราประมาท มันสามารถเกิดขึ้นได้ใกล้กว่าที่คิดครับ เพราะฉะนั้น การรู้เท่าทัน และดูแลตัวเองให้ถูกวิธี คือวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้โรคนี้เกิดขึ้นกับเราและคนรอบข้างครับ 


บทความที่เกี่ยวข้อง
อากาศร้อนจัด เสี่ยง ฮีทสโตรก 
ในช่วงฤดูร้อนที่อุณหภูมิพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาวะ ฮีทสโตรก หรือโรคลมแดด กลายเป็นภัยสุขภาพที่หลายคนอาจมองข้าม แต่ความจริงแล้วอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
11 มิ.ย. 2025
ไวรัสไข้หวัดใหญ่
ไวรัสไข้หวัดใหญ่ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดหลัก  ชนิด A รุนแรงที่สุด แพร่เร็วที่สุด เช่น H1N1, H3N2  ชนิด B ก่อโรคในคน รุนแรงปานกลาง  ชนิด C พบน้อย อาการไม่รุนแรง
17 มิ.ย. 2025
บทบาทของยีสต์ต่อสุขภาพและการเจริญเติบโตของสัตว์กระเพาะรวม
ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ยีสต์ถือเป็นวัตถุดิบที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในสัตว์กระเพาะรวมอย่างโคนมและโคเนื้อ เกษตรกรมักนำยีสต์ไปใช้ในรูปแบบหมักร่วมกับวัตถุดิบ เช่น มันสำปะหลังหมักยีสต์ ข้าวโพดหมักยีสต์ หรือของเหลือใช้จากอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อปรับปรุงคุณภาพอาหารสัตว์ เพิ่มประสิทธิภาพการย่อย และเสริมสุขภาพโดยรวมของสัตว์
3 มิ.ย. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy