Share

จุลินทรีย์สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ผู้ช่วยตัวสำคัญเรื่องกลิ่นในฟาร์ม

Last updated: 4 Jul 2024
588 Views

อุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรในปัจจุบันนี้ไม่อาจมองข้ามเรื่องมลภาวะที่รบกวนกิจกรรมต่างๆ ของตัวสุกรเอง และยังเป็นสิ่งที่รบกวนผู้ปฏิบัติงานไปได้ การเลี้ยงสุกรเพิ่มจำนวนมากขึ้น เพราะความต้องการบริโภคโปรตีนจากสัตว์เพิ่มมากขึ้น แต่พื้นที่และขนาดโรงเรือนในการเลี้ยงเท่าเดิม หนีไม่พ้นปัญหาการแออัดของสัตว์ ส่งผลทำให้เกิดกลิ่นเหม็นสะสมจากของเสียที่สัตว์ขับถ่ายออกมามากขึ้นตามไปด้วย มลภาวะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาเรื่องกลิ่นที่รบกวนใจของเจ้าของฟาร์ม ที่อาจจะโดนเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสิ่งแวดล้อมเข้ามาตักเตือนหรือเป็นปัญหาชุมชนโดยรอบฟาร์มได้ แต่ก่อนที่เราจะขจัดปัญหากลิ่นเหม็นได้นั้นเราจำเป็นต้องรู้ถึงสาเหตุการเกิดก่อนเสียก่อน

มลภาวะจากฟาร์มเลี้ยงสุกร เกิดจากตัวสุกรไม่สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารที่ได้รับได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจึงทำให้สารอาหารหลงเหลือออกมาทางสิ่งขับถ่าย ฝุ่นละอองและแมลงวันก็จัดเป็นอีกสาเหตุของการกระจายของกลิ่นด้วยเช่นกัน แหล่งที่มาของกลิ่นของเสียจากฟาร์มส่วนใหญ่เกิดจากสิ่งขับถ่ายทำปฏิกิริยากับจุลินทรีย์ในบรรยากาศและเกิดการระเหยให้กลิ่นชนิดต่างๆ เช่น

ตารางที่ 1 แหล่งที่มากลิ่นของเสียจากโรงเรือนเลี้ยงสุกร

แหล่งข้อมูล : Aarnink และคณะ (1998 อ้างอิง Spoelstra, 1979: ONeil และ Phillips, 1992 )

แก๊สแอมโมเนียและกลิ่นในโรงเรือนมีต่อสุขภาพของการผลิตสัตว์โดยตรง แอมโมเนียที่ระดับ 25-30 ppm ของอากาศก่อให้เกิดอาการระคายเคืองตาและระบบการหายใจ (MWPS-18, 1995) ในสุกรส่งผลทำให้ระดับ pH ของเลือดเพิ่มขึ้น เบื่ออาหาร การกินลดลง สมรรถภาพการผลิตลดลง ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ

จากที่กล่าวมาข้างต้นการแก้ปัญหามีหลากหลายวิธีที่นิยมทำกัน เช่น ลดไนโตรเจนที่ปนเปื้อนในสิ่งขับถ่ายโดยการลดโปรตีนในสูตรอาหาร เสริมกรดอะมิโนเพื่อปรับสมดุลของไนโตเจนให้เหลือตกค้างในมูลให้น้อยลง หรือเติมกลือ CaCl2  แทน CaCo3  เพื่อลด pH ของสิ่งขับถ่าย และ การใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อควบคุมแก๊สแอมโมเนียเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในปัจจุบัน

- Non-starch polysaccharides (NSP) เติมในอาหารมีผลทำให้การขับถ่ายไนโตรเจนเปลี่ยนรูปจากยูเรียในปัสสาวะและโปรตีนจากจุลินทรีย์ในมูล การเสริม NSP ที่ระดับ 14-31% สามารถลดสัดส่วนของไนโตรเจนที่ขับถ่ายทางปัสสาวะและมูลจาก 8:1 เป็น 1.2: 1 (Cahn et al., 1997a)

- การใช้ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์เสริมในอาหาร (Probiotic) เพื่อใช้ในการบำบัดกลิ่นในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์   จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์มีมากมายหลายสายพันธุ์ และสายพันธุ์ที่นิยม อาทิ Bacillus และ Lactobacillus spp. ผลจากการศึกษาพบว่าการเสริมผลิตภัณฑ์ Probiotic เป็นการแก้ไขปัญหากลิ่นที่ต้นเหตุ จุลินทรีย์จะเข้าไปเจริญเติบในร่างกายสัตว์และสร้างเอนไซม์ต่างๆ เช่น อะไมเลส โปรติเอส ไลเปล และเซลลูเลส ออกมาส่งผลทำให้การย่อยอาหารและการดูดซึมสารอาหารของสัตว์ดีขึ้น มูลมีสารอาหารตกค้างน้อยลง ต้นเหตุของการเกิดกลิ่นเหม็นจึงลดลงตามมาด้วย และอีกประโยชน์ของการเสริม Probiotic ในอาหารสุกรยังช่วยส่งเสริมสมรรถภาพการผลิตได้อีกเช่นกัน (สมชัย และคณะ, 2537)

SAS เลี่ยงเห็นถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม และใส่ใจทั้งตัวสุกรและเกษตรผู้เลี้ยง ทางบริษัทมีการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านจุลินทรีย์โดยเฉพาะ SAS มุ่งมั่นเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีชีวภาพ และสำหรับการผลิตสุกรเรามีผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์  Biotic Max for Swine ผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วย Probiotic และ Prebiotic ทำให้มั่นใจได้ว่าตัวจุลินทรีย์จะเข้าไปเจริญเติบโตและไปทำงานภายในตัวสัตว์อย่างแน่นอน และก่อให้เกิดประโยชน์กับตัวสุกรอย่างเต็มที่ ทั้งในเรื่อง เพิ่มจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์และควบคุมเชื้อก่อโรคไม่ให้เจริญในระบบทางเดินอาหาร กระตุ้นการกินอาหารของสุกร เพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซึมโปรตีนและการใช้ประโยชน์ได้ของเยื่อใยในอาหาร เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตของสุกร ลดปัญหาการเป็นไข้หลังคลอด ปัญหาเต้านมและมดลูกอักเสบ ลดการถ่ายทอดเชื้อก่อโรคทางมูลจากแม่สู่ลูกในเล้าคลอด และที่สำคัญสามารถลดปัญหามูลแฉะและกลิ่นแก๊สแอมโมเนียในมูลและโรงเรือนสุกรได้อย่างดีเยี่ยม

Biotic Max for Swine เป็นอีกผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ทั้งการส่งเสริมสุขภาพให้สุกรและการลดมลพิษทางอากาศได้ดีอีกตัวหนึ่ง


Related Content
Extreme Heat Risk: Heatstroke Danger
During the summer season, when temperatures consistently soar, heatstroke (or sunstroke) becomes a health threat that many might overlook. In reality, it can be severe, even fatal, especially for high-risk groups such as children, the elderly, and those with underlying health conditions.
11 Jun 2025
Influenza
Types of Influenza Virus Influenza viruses are categorized into three main types: Type A The most severe and highly contagious, e.g., H1N1 and H3N2. Type B Infects humans, with moderate severity. Type C Rarely found and typically causes mild symptoms.
17 Jun 2025
The Role of Yeast in the Health and Growth of Ruminant Animals
In the livestock industry, yeast has been a long-standing and popular raw material, especially for ruminant animals such as dairy cattle and beef cattle. Farmers often incorporate yeast into their feed through fermentation with raw materials like fermented cassava, fermented corn, or food industry by-products. This practice aims to improve feed quality, enhance digestibility, and promote overall animal health.
3 Jun 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว and นโยบายคุกกี้
Compare product
0/4
Remove all
Compare
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy